ทุเรียน ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ ที่สามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่ามแล้วแต่คนชอบ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เมล็ดก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน จึงมีหลายท่านโปรดปรานที่ผลไม้ชนิดี้ แต่มักจะถูกทัดทานจากระดับน้ำตาล และ ไขมันเพิ่มสูงเกินระดับควบคุม จนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ทุเรียนทำให้เบาหวานสูงขึ้น ไขมันสูงขึ้นจริงหรือ? กินทุเรียนมีประโยชน์มั้ย? เช่นนั้นเรามาดูข้อเท็จจริงของทุเรียนไปพร้อมกัน
ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ และมีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก
ในสายพันธุ์นี้ก็แบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและปลูกกันมากก็คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น
คุณค่าทางสารอาหารของทุเรียนแต่ละพันธุ์
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม
ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ประโยชน์ของทุเรียน
- ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
- เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง) การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
- แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
- เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
- ในทุเรียนมีโฟเลต (Folate) หรือ วิตามินบี 9 ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงดีต่อระบบเลือด นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจาง
- ช่วยบำรุงสายตา และชะลอความเสื่อมกระจกตา ยิ่งเนื้อทุเรียนสีเหลืองเข้มเท่าไหร่ก็จะยิ่งพบเบตาแคโรทีนมาก ช่วยบำรุงสายตา ชะลอการเสื่อมของกระจกตา และป้องกันการเกิดต้อกระจกในกลุ่มผู้สูงอายุ
- ผลสามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เชก, เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ
- เมล็ดทุเรียนสามารถรับประทานได้ โดยนำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า
- ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน
- เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการรมควันปลา
- เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะมีเส้นใยเหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
- ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนมารับประทาน
- สำหรับความเชื่อในบ้านเรานั้น การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้าน (ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เชื่อว่าผู้อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้ แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่าทุเรียนมีเสียงพ้องกับเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง
ข้อควรระวัง
- ทุเรียนมีน้ำตาลและไขมันสูง และเป็นผลไม้ฤทธิ์ร้อน หากทานเยอะเกินไปอาจทำอ้วนได้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูง และ โรคหัวใจ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ
- ในบางรายอาจเกิดอาการแพ้ เช่น คัน ลมพิษ หายใจลำบาก แนะนำให้ทานในปริมาณเหมาะสม และปรึกษาแพทย์ก่อนทาน
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99/ | Medthai
สรรพคุณทางยาของทุเรียน
สรรพคุณตามตำรายาไทย ระบุไว้ว่า
- รากทุเรียน มีรสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง
- ใบทุเรียน มีรสขม เย็นเฝื่อน ใช้แก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง
- เปลือกทุเรียน มีรสฝาดเฝื่อน ใช้รักษากลากเกลื้อน สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝี ตานซาง
- เนื้อทุเรียน มีรสหวาน ร้อน ใช้แก้จุกเสียดในท้อง ให้ความร้อนกับร่างกาย บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิไส้เดือน
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า
- เนื้อทุเรียนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ลดไขมันในเลือด แต่ยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
- สาร polysaccharide gel ที่ได้จากเปลือกทุเรียนมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
- เมื่อนำไปผสมในอาหารสัตว์ก็พบว่าสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันให้กับกุ้งได้
- มีการนำ polysaccharide gel ไปพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มปิดแผล ซึ่งพบว่าช่วยสมานแผลและลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
ทุเรียน กินตามนี้มีประโยชน์
จากข้อมูลของกรมอนามัยแนะนำว่า
👉 เลือกกินแบบที่ไม่สุกจัด เพราะปริมาณน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นตามระดับความสุกของทุเรียน
👉 ไม่กินถี่ทุกวัน
👉 ไม่ควรกินทุเรียนเกินวันละ 2 เม็ดกลาง เนื่องจากการกินทุเรียน 4-6 เม็ด เทียบเท่ากับการดื่มน้ำอัดลม 2 กระป๋อง (พลังงานประมาณ 400 กิโลแคลอรี่)
จึงเป็นเหตุให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินควร ดังนั้นไม่ควรรับประทานทุเรียนเกินวันละ 2 เม็ด
👉 ไม่ควรกินทุเรียนพร้อมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 🍺พบว่าการกินของทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีอาการหน้าแดง ชา วิงเวียน และอาเจียน ในบางกรณีที่รุนแรงหัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ
👉 ไม่ควรกินเครื่องดื่มน้ำอัดลม 🥤 หรืออาหารที่มีรสหวานจัด คู่กับ ทุเรียน จะเป็นการเพิ่มน้ำตาลและให้พลังงานสูงให้แก่ร่างกาย หากรับประทานมากก็จะเป็นร้อนใน ยังสะสมเป็นไขมันที่ทำให้อ้วนด้วย
นอกจากเนื้อทุเรียนแล้ว ยังหมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากทุเรียน เช่น ทุเรียนทอด ทุเรียนกวน ไอศกรีมรสทุเรียน🍨
หากรับประทานมากติดต่อกันหลายๆ วัน ก็จะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาได้ ซึ่งเราควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จึงจะได้ทั้งความอิ่มอร่อยและสุขภาพดีอย่างไม่ต้องกังวลกับปัญหาสุขภาพที่จะตามมา
👉 คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันสูง ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
👉 หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
👉 ลดอาหารกลุ่ม ข้าว-แป้ง 1 ทัพพี ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด หรือมันจัดในมื้อที่กินทุเรียน เพื่อที่จะได้รับพลังงานในปริมาณที่ไม่เกินกว่าร่างกายต้องการ
ทุเรียนกับโรคประจำตัวยอดฮิต
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุเรียนจัดเป็นผลไม้ที่ให้น้ำตาล ไขมัน และมีพลังงานสูง ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานกินทุเรียนเข้าไป อาจทำให้มีอาการน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป ส่งผลให้เจ็บป่วยไม่สบายตัวหรือร้อนใน และอาจเป็นอันตรายถึงภาวะช็อกได้
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ทุเรียนจัดว่าเป็นผลไม้ฤทธิ์ร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ความดันสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้
3. ผู้ป่วยโรคไตและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคไตร่างกายจะขับโพแทสเซียมออกได้ไม่ดี ซึ่งถ้ามีการสะสมของโพแทสเซียมปริมาณมาก จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4. ผู้ที่ต้องการคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือด
ทุเรียนจัดเป็นผลไม้ที่ให้น้ำตาล ไขมัน และมีพลังงานสูง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการกินทุเรียน ทั้งทุเรียนสดและทุเรียนแปรรูป และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : ข่าวสาร : “ทุเรียน” กินอย่างไรไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในมุมมองของแพทย์จีน – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (cmu.ac.th)