Mousai Wellness Center

หายปวดศีรษะไมเกรน ด้วย Anti-aging

Mousai Wellness Center

ปวดศีรษะไมเกรนดีขึ้นได้จริงหรือ?😫

หลายคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนบ่อย ๆ บางคนปวดมากจนต้องหยุดงาน หรือปวดแต่ละครั้งนานหลายชั่วโมงจนถึงเป็นวัน นอกจากนั้นยังพบว่าผู้หญิงส่วนมากมักมีอาการช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือบางคนเป็นบ่อยกว่านั้นแทบจะทุกสัปดาห์

สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของการปวดศีรษะไมเกรนนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่ามีสาเหตุหลักมาจาก

1. หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ (Vasomotor instability theory) ซึ่งตัวกระตุ้นนั้นมีหลายปัจจัยแตกต่างกันออกไป

2. เกิดความผิดปกติชั่วคราวของสารสื่อประสาทในสมอง (Platelets and Serotonin) ในเลือดจะมีสารเซโรโทนินเก็บไว้ในเกล็ดเลือด (platelets) เมื่อเกล็ดเลือดถูกกระตุ้นจะปล่อยสารเซโรโทนิน ซึ่งจะกระตุ้นให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว

3. เซลล์ประสาทผิดปกติ (Neuronal disorder) แบบไม่ทราบสาเหตุ

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว ยังพบว่าอาหารที่เรารับประทานหรือภาวะแพ้อาหารแฝง (Food intolerance) นั้นมีบทบาทมากสำหรับอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยพบว่าถ้าเราหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทสามารถลดอาการปวดไมเกรนได้ 30-93% (ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับบุคคล) กลไกปวดไมเกรนจากอาหารยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากสารบางอย่างในอาหารเช่น ไทรามีน (Tyramine), สาร Monoamine oxidase รวมไปถึงสารที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด เป็นต้น

(หากท่านสนใจเรื่องการตรวจเลือดหาภาวะแพ้อาหารแฝง สามารถนัดปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือดและขอคำแนะนำเพิ่มได้ค่ะ)

วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดศีรษะไมเกรน

(รายละเอียดของชนิดอาหารทั้งหมดจะกล่าวถึงในครั้งถัดไป)

1. ตรวจหาภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง (Food intolerance test) ถ้าไม่สามารถทำการตรวจได้ให้ลองสังเกตว่าทานอาหารชนิดไหนแล้วเป็นมากขึ้น หยุดทานแล้วดีขึ้นไหม แล้วลองกลับมาทานอีกครั้งเรียกว่าวิธี Reintroduction of suspected foods

2. ทานอาหารกลุ่ม Oligoantigenic diet : จำกัดอาหารที่มีสาร vasoactive amines ได้แก่ : เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol), คาเฟอีน ในกาแฟ ชา และช็อกโกแลต, ชีส (Cheese), ส้ม Citrus, หอย Shellfish

3. ลดอาหารที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย (Dietary sources of arachidonic acid) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไขมันสัตว์

4. เพิ่มอาหารที่ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด : เช่น Flaxseed, น้ำมันมะกอกและน้ำมันปลา, กระเทียม, หัวหอม, ขิง เป็นต้น

5. รักษาสมดุลของสารสื่อประสาทสมอง ทั้ง Serotonin และ Endorphin ด้วยวิตามินเสริมหรือวิธีการฝังเข็ม

6. เสริมวิตามินและแร่ธาตุ กลุ่ม Magnesium, Coenzyme Q10 , Vitamin B2, และ Vitamin B6

7. ปรับเรื่องทางเดินอาหาร โดยการรับประทานอาหารเสริมกลุ่มช่วยย่อย เช่น Enzyme, HCl

8. ตรวจหาและปรับสมดุลเชื้อ H. pylori โดยรับประทานยาฆ่าเชื้อตามคำแนะนำแพทย์และ ทาน Probiotics เสริม

9. รักษาอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยวิธีต่าง ๆ เช่น นวดแผนไทย จัดกระดูก ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ เป็นต้น

(รายละเอียดของอาหารเพิ่มเติมจะกล่าวถึงในครั้งถัดไป)
ลองปรับทำตามนี้ หลาย ๆ ท่านอาการปวดศีรษะไมเกรนเหลือน้อยลงมากเลยค่ะ ลองนำไปประยุกต์กันดูกันนะคะ

 หากต้องการสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
ทดลองเข้ามาใช้บริการโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพต่าง ๆ
 สามารถสำรองนัดหมายเข้ามาคุยกับคุณหมอ
เพื่อออกแบบ Program ที่เหมาะสมกับคุณ 
.

ติดต่อได้ที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ
🏥 Mousai Wellness Center 🌿
.
📍 https://maps.app.goo.gl/5upfoxwpdsg9hVNx5
📩 Line : @MousaiWellness
🌐 mousaiwellness.com
☎️ 02-0964991 , 061-8941881

#Mousai #MousaiWellness #โปรโมชัน #Wellness #Holistic #ดูแลสุขภาพ
#drbiglifestyelemedicine #lifestylemedicine #antiaging #health #healthy
#longevity #migrain #คลินิกความงาม #ศูนย์สุขภาพ #ความงาม #ชะลอวัย #ตรวจสุขภาพ  

ที่มา

Pizzorno, J. E., Murray, M. T., & Joiner-Bey, H. (2016). The Clinician’s Handbook of Natural Medicine E-Book 3rd Edition. Elsevier Health Sciences. 658-690.  
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิง ภิญญาพัชญ์ ชัยภูริหิรัญญ์
แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine)
แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-aging and Regenerative Medicine)
แพทย์เวชศาสตร์ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle medicine)