Mousai Wellness Center

Andropause – ภาวะพร่องฮอร์โมนชาย อ่อนเพลียง่าย คิดช้า เริ่มเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช็คก่อน แก้ไขได้

Mousai Wellness Center

ภาวะพร่องฮอร์โมนชาย อ่อนเพลียง่าย คิดช้า
เริ่มเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช็กก่อนแก้ไขได้

ทราบหรือไม่ว่าอาการแรกที่บ่งบอกว่า ฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำนั้น ได้แก่ รู้สึกคิดช้าลง ตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้ช้าลง หลงลืม อ่อนเพลียง่าย ไม่สดชื่น อารมณ์ขี้หงุดหงิด เริ่มอ้วนลงพุง มีไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ออกกำลังแบบมีแรงต้านก็แล้ว (Resistance training)

แต่พบว่ากล้ามเนื้อไม่ค่อยโตขึ้นหรือโตช้า เมื่อเทียบกับคนอื่น บางคนมีปัญหานอนไม่หลับ ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่ ขาดความมั่นใจ ไม่ชอบการแข่งขัน

อาการข้างต้น เป็นอาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าคุณผู้ชายทั้งหลายอาจจะเริ่มมีภาวะพร่องฮอร์โมนชาย ซึ่งถ้าปล่อยให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนชายนาน ๆ อาจจะเริ่มทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น ภาวะอวัยวะเพศไม่แข็งตัว (Erectile Dysfunction; ED), ภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance), ภาวะกระดูกพรุนและโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) ก่อนวัยเป็นต้น

ภาวะพร่องฮอร์โมนชายนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 ต้น ๆ โดยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มีภาวะอ้วน มีภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ความเครียดสะสม ขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงพันธุกรรมต่าง ๆ

วิธีการตรวจหาระดับฮอร์โมน

สามารถตรวจได้หลัก ๆ 2 วิธีคือ

1.ตรวจจากเลือด

2.ตรวจจากน้ำลาย

การตรวจในเลือดเป็นวิธีที่นิยมกว่า โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ก็สามารถทราบผลได้ทันที สามารถเข้าปรึกษาและตรวจเลือดได้ในคลินิกสุขภาพเวชศาสตร์ชะลอวัยทั่วไป โรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดการตรวจเฉพาะในคลินิกวัยทองเพศชายเท่านั้น อย่างกลุ่มออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance/Weight Training) ที่เล่นอย่างเป็นประจำ หรือกลุ่มนักเพาะกาย ก็มีการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนอยู่เป็นระยะ

**ข้อควรทราบก่อนตรวจวัดระดับฮอร์โมนชายคือ ควรตรวจในช่วงเวลาตอนเช้า ก่อน 11.00 น. เพื่อความแม่นยำในผลการตรวจและวันที่ตรวจร่างกายควรจะค่อนข้างปกติ ไม่มีอาการเจ็บป่วย (Illness) ใด ๆ

ระดับฮอร์โมนเท่าไหร่ถึงเหมาะสม

ภาวะพร่องฮอร์โมนชายมีหลายชื่อเรียก เช่น Testosterone deficiency syndrome, Andropause, Androgen Deficiency in Adult Men เป็นต้น ซึ่งการให้คำนิยามของภาวะพร่องฮอร์โมนชายนั้น มีเกณฑ์ต่างกัน ขึ้นกับข้อตกลงของสมาคมในแต่ละประเทศ โดยเกณฑ์วินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนชายมีหลากหลายเกณฑ์ เช่น Total Testosterone <230 ng/dLหรือ < 300 ng/dL หรือ <350 ng/dLเป็นต้น

โดยทั่วไปจะแนะนำค่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ตอนเช้าที่เหมาะสมควรจะอยู่ในช่วง 500-700 ng/mL หากค่าที่วัดได้เริ่มต่ำกว่าช่วงนี้  คุณผู้ชายทั้งหลายควรเริ่มปรับพฤติกรรม เพื่อเพิ่มฮอร์โมนชาย (สามารถเพิ่มได้โดยไม่ต้องใช้ยา) และถ้าฮอร์โมนของคุณผู้ชายนั้น £350 ng/mL ควรจะพบแพทย์เพื่อปรึกษาภาวะพร่องฮอร์โมนชาย

วิธีการเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย

  1. การใช้ฮอร์โมนบำบัด : การใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนอื่นเพื่อเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั้นมีหลายรูปแบบ แนะนำให้ใช้เฉพาะฮอร์โมนที่เลียนแบบฮอร์โมนธรรมชาติ (Bioidentical Hormone) เท่านั้น วิธีการมีหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก(มีทั้งรุ่นฉีดทุกสัปดาห์ และฉีดราย 3 เดือน ขึ้นกับผลเลือดและดุลยพินิจของแพทย์แต่ละท่าน) และแบบครีมโฮอร์โมนใช้สำหรับทาภายนอก

( ***การใช้ฮอร์โมนบำบัดนั้น ต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มการรักษา นอกจากการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องตรวจเลือดและตรวจร่างกายอื่น ๆ อีกด้วย )

 2. การออกกำลังแบบมีแรงต้าน (Resistance/Weight Training)

เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายสูงสุด โดยพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเป็นประจำ จะมีระดับฮอร์โมนชายสูงกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย (รายละเอียดเรื่องการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านต่อฮอร์โมนเพศชาย จะกล่าวถึงในครั้งถัดไป)

   3. อาหาร :

✔️ เพิ่มอาหารประเภทโปรตีน (Good Quality Protein) ประมาณ 1.2-2 กรัม/น้ำหนักตัว ขึ้นกับกิจกรรมที่ทำต่อวัน

✔️ เพิ่มอาหารกลุ่มไขมันดี (Healthy Fat) : ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากนมที่หมักแล้วได้แก่ โยเกิร์ตและชีส น้ำมันปลา เมล็ดแฟล็ก เมล็ดเจีย ถั่วอัลมอนด์ ถั่ววอลนัท อะโวคาโด เป็นต้น

✔️ ทานวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารเสริมได้แก่ : Vitamin C, Vitamin K, Vitamin B3, Vitamin D, Zinc, Selenium, และ Resveratrol เป็นต้น (รายละเอียดด้านวิตามินและสารอาหารเสริมจะกล่าวถึงในครั้งถัดไป)

✔️ ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ชา กาแฟ โกโก้

✔️ ลดการดื่มสุรา

   4. งดการสูบบุหรี่

5. พยายามไม่ใส่กางเกงชั้นในที่รัดเกินไป แนะนำให้สวมเป็นพวก Boxer แทน เนื่องจากอัณฑะของคุณผู้ชายนั้น จะทำงานได้ดีขึ้นถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อบอุ่น

6. หากิจกรรมที่ตื่นเต้นทำเพิ่มขึ้น พบว่ากิจกรรมบางอย่างสามารถกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนชายได้ เช่น ดูหนังต่อสู้ เข้าสังคม คบคนในหลาย ๆ รุ่น และกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

จะพบว่า ถ้าเรามีอาการบางอย่างข้างต้นที่เข้าข่ายภาวะพร่องฮอร์โมนชาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กระดับฮอร์โมนก่อน ถ้ารีบรักษาก็สามารถแก้ไขอาการเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว โดยมากผู้ที่มีการปรับฮอร์โมนจะกลับมาดูหนุ่มขึ้น หน้าสดใส มีพลัง สดชื่น มีเรี่ยวแรง สมองแล่น ความจำดี สามารถทำงานต่าง ๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพขึ้น ทราบกันอย่างนี้แล้ว อย่าลืมนัดแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชายกันนะคะ  ถ้าไม่ทราบว่าจะไปปรึกษาที่ไหนดี สามารถทำนัดมาปรึกษาได้ที่ Mousai Wellness Center ได้ค่ะ 

“Women want Beauty, Men want Power”

 หากต้องการสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
ทดลองเข้ามาใช้บริการโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพต่าง ๆ
 สามารถสำรองนัดหมายเข้ามาคุยกับคุณหมอ
เพื่อออกแบบ Program ที่เหมาะสมกับคุณ 
.

ติดต่อได้ที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ
🏥 Mousai Wellness Center 🌿
.
📍 https://maps.app.goo.gl/5upfoxwpdsg9hVNx5
📩 Line : @MousaiWellness
🌐 mousaiwellness.com
☎️ 02-0964991 , 061-8941881

#Mousai #MousaiWellness #โปรโมชัน #Wellness #Holistic 
#drbiglifestyelemedicine #lifestylemedicine #antiaging
#health #healthy #ฮอร์โมนชาย #testosterone #erectiledysfunction
#Man #Andropause #ดูแลสุขภาพ #คลินิกความงาม #ศูนย์สุขภาพ #ความงาม #ชะลอวัย #ตรวจสุขภาพ

ที่มา

Park, H. J., Ahn, S. T., & Moon, D. G. (2019). Evolution of guidelines for testosterone replacement therapy. Journal of Clinical Medicine, 8(3), 410.

Kelly, D. M., & Jones, T. H. (2013). Testosterone: a metabolic hormone in health and disease. Journal of Endocrinology, 217(3), R25-R45.

Corona, G., Rastrelli, G., Forti, G., & Maggi, M. (2011). Update in testosterone therapy for men (CME). The journal of sexual medicine, 8(3), 639-654.

ธิติ สนับบุญ, Testosterone therapy for aging mail: Should we treat?, (2562) ; โรคต่อมไร้ท่อในเวชปฏิบัติ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย
Pizzorno, J. E., Murray, M. T., & Joiner-Bey, H. (2016). The Clinician’s Handbook of Natural Medicine E-Book 3rd Edition. Elsevier Health Sciences. 521-546.

 เรียบเรียงโดย แพทย์หญิง ภิญญาพัชญ์ ชัยภูริหิรัญญ์

แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine)

แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti-aging and Regenerative Medicine)

แพทย์เวชศาสตร์ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle medicine)