Mousai Wellness Center

Micronutrients CHECK UP

ไมโครนิวเทรียนท์ คือ วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด ที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ไม่สามารถขาดได้

นอกจากนี้ร่างกายยังไม่สามารถผลิตเองได้ หรือผลิตได้น้อย จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ไมโครนิวเทรียนท์ มีหน้าที่สำคัญในการช่วยระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยกระบวนการเมแทบอลิซึ่ม ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ ช่วยส่งเสริมภาวะสุขภาพ แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้

ทำไมต้องตรวจวัดระดับ Micronutrients ในร่างกาย

ทานวิตามินอย่างไร ให้ร่างกายเห็นผล ?

อาการเมื่อร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุ

  • ป่วยบ่อย ป่วยง่าย
  • ผมร่วง
  • เบื่อ หงุดหงิด
  • นอนไม่หลับ
  • ผิวพรรณไม่สดใส
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ตาพร่ามัว ดวงตาสู้แสงไม่ได้
  • ปวดหลัง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ
  • ท้องผูก ขับถ่ายไม่ปกติ
  • โลหิตจาง

Micronutrient Test เป็นการตรวจวิตามินและแร่ธาติ 21 รายการ เพื่อนำมาวางแผนด้านสุขภาพหรือการทานวิตามินเฉพาะบุคคลอย่างเหมาะสม มีการตรวจดังต่อไปนี้

Vitamin D2, Vitamin D3, Vitamin D Total

วิตามินดี เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ และภูมิคุ้มกัน 

โดยวิตามินดีแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ วิตามิน D2 และวิตามิน D3 ร่างกายจะได้รับวิตามิน D2 จากพืชและยีสต์ ส่วนวิตามิน D3 นั้นได้รับมาจากสัตว์

นอกจากนี้เราจะได้รับวิตามินดีได้จากแสงแดด อาหาร หรือวิตามินเสริม

Vitamin E (Alpha -Tocopherol, Gamma -Tocopherol)

เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ​ ซึ่งพบได้ในเยื่อหุ้มเซลล์ของร่างกายรวมถึงเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน

  • Vitamin E (Alpha -Tocopherol) มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจ การไหลเวียนโลหิต ภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวสุขภาพดี
  • Vitamin E (Gamma -Tocopherol) มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบ ต่อต้านริ้วรอย ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ มะเร็งและการเสื่อมตามตามอายุ

Vitamin A

วิตามินเอ เป็นวิตามินที่สำคัญในการช่วยให้ดวงตามองเห็นได้ดี โดยสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งในดวงตา เรียกว่า Rhodopsin ที่ช่วยในการรับแสงของเรตินา

ทำให้สามารถมองเห็นภาพในบริเวณที่แสงน้อย ที่สลัว และในเวลากลางคืนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์ รักษาผิวหนังและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

สามารถพบได้ในอาหารชนิดต่าง ๆ ทั้งจากสัตว์และจากพืช เช่น ตับ ปลา นมสด ชีส เนย โยเกิร์ต ไข่ แครอท ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม คะน้า ผักกระหล่ำปลี  มะม่วง แอปริคอต และแคนตาลูป

Vitamin B 12

วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ส่วนใหญ่มักพบในอาหารจำพวก เนื้อ ปลา ไข่ นม ตับ มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยการทำงานของสมองในเรื่องความจำ มีส่วนช่วยในเรื่องความรู้และความเข้าใจ

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับพลังงานในร่างกาย ลดความเหนื่อยล้าอ่อนแรง ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้า

หากเป็นผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ (รับประทานมังสวิรัติ) อาจมีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 12

Vitamin C

วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จะได้รับจากการรับประทานอาหาร

ส่วนใหญ่มักพบวิตามินซีในอาหารประเภทผักและผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด มะขาม สตอร์เบอร์รี่ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ

ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยเสริมสร้างคลอลาเจน ช่วยเรื่องผิวขาวใสเปล่งปลั่ง ทำให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและผิวพรรณ

Chromium

โครเมียมเป็นแร่ธาตุชนิดที่มีประโยชน์สำคัญต่อร่างกาย มีส่วนช่วยความคุมฮอร์โมนอินซูลินที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในการลดความดัน และโครเมียม

เป็นโลหะหนัก หากพบในร่างกายสูงเกินไปอาจส่งผลอันตรายได้ มีผลต่อระบบทางเดินอาหารอักเสบเฉียบพลัน เลือดออกในทางเดินอาหาร โลหิตจาง โลหิตจาง มะเร็ง และอื่น ๆ สามารถพบได้ในอาหารเช่น มันฝรั่ง บรอกโคลี เห็ด กระเทียม ถั่วเปลือกเขียว กล้วย ข้าวโอ๊ต องุ่น ขนมปังโฮลเกรนหรือขนมปังที่ทำมาจากธัญพืชเต็มเมล็ด

Magnesium

แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่สมดุล ช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอ

หากร่างกายขาดแมกนีเซียมอาจเกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหนื่อยล้า อ่อนแรง อาการชา ปวดกล้ามเนื้อ หรือรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชัก หัวใจเต้นผิดปกติได้

Folate

โฟเลตเป็นวิตามินบี 9 รูปแบบหนึ่ง ที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก มีส่วนช่วยในการสร้าง DNA และ RNA เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน ช่วยในการบำรุงเลือด

อีกทั้งโฟเลตช่วยลดระดับสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ที่เกิดการย่อยสลายอาหารประเภทโปรตีน โดยหากร่างการมีสารโฮโมซิสเทอีนสูงอาจเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบ,อุดตันได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง 

Zinc

Zinc หรือแร่ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นและมีประโยชชน์ต่อร่างกาย มีบทบาทหน้าที่ต่อการทำงานของร่างกายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือด ระบบภูมิคุ้มกันช่วยให้ไม่ป่วยบ่อย ช่วยเรื่องการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์ต่าง ๆ ของร่างกายถึง 200 ชนิด

รวมถึงกระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และมีส่วนช่วยบำรุงผม ผิว สิว เล็บ  แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ธาตุสังกะสีขึ้นมาเองได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องได้รับ Zinc จากการรับประทานอาหาร  สามารถพบได้ในอาหารหลายประเภท เช่น หอยนางรม ปลาเก๋า เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง ธัญพืช  บรอกโคลี ฟักทอง หอมหัวใหญ่ กรีนโอ๊ค เนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม

Coenzyme Q10

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายผลิตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสร้างขึ้นที่ตับ เกี่ยวข้องกับการพลังงานในร่างกาย,ปกป้องเซลล์ร่างกายให้แข็งแรง และเป็นตัวสำคัญที่ช่วยบำรุงหัวใจ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดความถี่ในการเป็นไมเกรน นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า ผิวหนังถูกทำลายทำให้เสื่อมโทรม

Selenium

ซีลีเนียมมีบทบาทสำคัญในระบบเผาผลาญของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และโปรตีนที่เรียกว่าซีลีโน

โปรตีนซึ่งช่วยสร้าง DNA และป้องกันความเสียหายของเซลล์และการติดเชื้อต่าง ๆ ในร่างกาย

อีกทั้งเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์และการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ และซีลีเนียมมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างกลูตาไธโอนเพอรอกซิเดส ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลักของร่างกาย ซีลีเนียมและวิตามินอีจะทำงานเสริมกัน ช่วยป้องกันความเซื่อมของเซลล์และชะลอความแก่ชรา อาหารที่มีซีลีเนียมสูง ได้แก่ ถั่วบราซิล วอลนัท ปลาทูน่า ปลาคอด ปลากะพงแดง ปลาเฮอริ่ง เนื้อวัว สัตว์ปีก หอยนางรม ธัญพืช เช่น จมูกข้าวสาลี เป็นต้น

Beta-cryptoxanthin

เบต้า-คริปโตแซนทีนอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระทำลายเซลล์และ DNA  และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยต้านการอักเสบของร่างกาย ลดความเสี่ยงโรครูมาตอยด์ พบมากในส้มแมนดาริน ลูกพลับ ส้ม มะละกอ ฟักทอง และพริกหวานสีแดง

Lycopene

ไลโคปีนเป็นสารอาหารจากพืชมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้สีแดงและชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม และเกรปฟรุตสีชมพู ซึ่งเป็นสีที่มีลักษณะเฉพาะ มีประโยชน์ต่อสุขภาพตั้งแต่หัวใจ ช่วยป้องกันผิวไหม้จากแดด ชะลอริ้วรอยก่อนวัน

Ferritin

เฟอร์ริติน คือสารโปรตีนที่เป็นตัวยึดเก็บธาตุเหล็กไว้ในเม็ดเลือดแดง เกี่ยวข้องกับธาตุเหล็กและภาวะโลหิตจาง ตรวจเพื่อให้ทราบว่าร่างกายมีธาตุเหล็กมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และใช้เพื่อวินิจฉัยร่วมกับโรคอื่นๆ

Beta-carotene

เบต้า-แคโรทีนเป็นสารประกอบที่ให้สีเหลือง สีส้ม และสีแดง ร่างกายจะเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อดวงตาช่วยในการมองเห็น

มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยรักษาอวัยวะให้แข็งแรง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมต่อผิวหนัง ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี

อีกทั้งช่วยเพิ่มความจำและกระตุ้นการทำงานของสมอ เรามักพบบีตาแคโรทีนในผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม เช่น แครอท มะมุ่วงสุก มะละกอ

Alpha-carotene

สารตั้งต้นของวิตามินเอ ที่มีฤทธิ์มากกว่าเบต้าแคโรทีน พบในผักและผลไม้ ที่มีสีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีเขียวเข้ม ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบที่เกิดในร่างกาย

Copper

คอปเปอร์หรือทองแดงเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มักจะจับกับโปรตีน เป็นสารสำคัญในการบำรุงกระดูก รวมถึงมีบทบาทในการสร้างภูมิคุ้มกัน

โดยส่วนใหญ่แล้วทองแดงจะพบอยู่ในร่างกายในปริมาณที่น้อยมากและพบในเนื้อเยื่อของดวงตามากที่สุด

อาหารที่พบทองแดง เช่น ครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง พริกไทยดำ เห็ด สาหร่าย หอยนางรม กุ้ง ปลาหมึก เอัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง พิสตาชิโอ พีแคน ผักโขม คะน้า ปวยเล้ง ข้าวสาลี ข้าวโอ็ต เป็นต้น

Lutein and zeaxanthin

สารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)  ช่วยปกป้องดวงตาจากคลื่นแสงพลังงานสูงที่เป็นอันตราย เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด จากการศึกษาพบว่าหากมี 2 ค่านี้อยู่ในระดับสูง จะสัมพันธ์กับการมองเห็นที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแสงสลัวหรือในที่แสงจ้า

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่