MENOPAUSE
Menopause
ภาวะวัยทอง หรือ วัยหมดระดู
สตรีวัยทอง หรือ สตรีวัยหมดประจำเดือน คือสตรีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอันเนื่องมีจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิง อายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่เข้าสู่ระยะวัยทอง คือช่วงอายุประมาณ 50 ปี โดยเฉลี่ยจะเป็นเมื่อขาดประจำเดือนไป 1 ปี รวมถึงสตรีผู้ที่หมดประจำเดือนก่อนวัยอันเนื่องมาจากการถูกผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง ส่งผลทำให้ประจำเดือนหมดไปตามธรรมชาติ
ลองสังเกตดู ว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่?
1. อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก อารมณ์แปรปรวน
มักเริ่มต้นที่หน้า คอ ศีรษะหรือหน้าอก บางรายมีอาการใจสั่น อาจนานไม่กี่วินาทีจนไปถึงหลายนาที โดยเฉพาะตอนกลางคืน ถือว่าเป็นอาการจำเพาะที่สุดที่สัมพันธ์กับวัยสตรีหมดประจำเดือนโดยส่วนใหญ่จะพบมากในระยะ 1-2 ปีแรก และอาการจะหายไปเอง
2. ผิวหนังแห้ง เหี่ยว
เป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียคอลลาเจนถึง 30% ในระยะ 10 ปีแรก นอกจากนี้ผิวหนังที่เหี่ยว แห้งยังทำให้การผลิตวิตามินดีที่ผิวหนังลดลงด้วย
3. อาการทางจิตใจ
อาการกังวล หงุดหงิด ขาดสมาธิในการทำงาน ภาวะซึมเศร้า อาการดังกล่าวไมาได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นผลมาจากการขสดฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่จะพบว่ามีความสัมพันธ์กับอารมณ์ เนื่องจากเกิดความกังวล รวมถึงการสูญเสียความสวยงามทางร่างกาย
4. ปัญหาระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ
การขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน ทำให้เกิดการฝ่อและลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศ ทำให้ปากช่องตลอดแคบลง ผวหนังบริเวณอวัยวะเพศบางลง ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง แสบร้อนในช่องคลอด จึงส่งผลทำให้ความต้องการทางเพศลดลง การหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทำให้มดลูกเคลื่อนและกระบังลมหย่อน มีการเปลี่ยนแปลงบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเล็ด
โรคที่อาจเกิดขึ้น มีอะไรบ้าง?
1.โรคกระดูกพรุน
เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งทำให้เสี่ยงกระดูกหักง่าย แม้เกิดจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยเฉพาะกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก 5ปีแรกหลังหมดระดู ร่างกายจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วประมาณ 20% ของมวลกระดูกทั้งหมด
2.โรคหัวใจและหลอดเลือด
การขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนเป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะไขมันเลว (LDL) ไขมันดีลดลง (HDL) ทำให้ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดอุดตันทั้งที่หลอดเลือดหัวใจและสมอง
3.ปัจจัยเสี่ยงโรคอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
การเตรียมพร้อมรับมือก่อนเข้าสู่วัยทอง
ไม่จำเป็นต้องรอจนถึงเกณฑ์อายุ “ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันก่อน”
1. ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำ เพื่อตรวจระดับไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับและไต ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายในและเช็คมะเร็งปากมดลูก
แพคเกจตรวจฮอร์โมนหญิง
2. ทานวิตามินเสริมสร้างฮอร์โมน ทาครีมเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้ดีขึ้น รวมถึงเสริมแคลเซียมและวิตามินดีให้กับร่างกาย
Growth Hormone Booster, Hormone Cream
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง ไขมันต่ำ และประเภทเส้นใย เป็นตัวช่วยลดการดูดซึมไขมันและน้ำตาล
4. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียด และทำ Treatment วิตามิน เพื่อการผ่อนคลายของร่ายกาย
Ozone Therapy, NAD+ , Resveratol IV, Immune, BioPeptide
5.ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดปริมาณไขมันเลว และลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
Vascular Detox IV ขจัดไขมันที่เกาะตัวเป็นก้อนตามผนังเส้นเลือด ปรับสมดุลกระบวนการเผาผลาญไขมันในเลือดร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ปัญหาฮอร์โมนพร่องหรือออร์โมนไม่สมดุล มีได้ในทุกเพศทุกวัย โดยจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ อ่อนเพลียง่าย ไม่สดชื่น ขี้ลืม การเผาผลาญลดลง อ้วนง่าย อารมณ์ทางเพศต่ำลง อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว อ้วนลงพุง นอนไม่หลับ ผิวแห้ง ซึมเศร้า เป็นต้น
ท่านที่มีอาการเหล่านี้ สามารถตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมน และปรับฮอร์โมนได้ตรงจุด ทำให้กลับมามีพลัง สดชื่น แข็งแรง กระปรี้กระเปร่า รู้สึกเป็นหนุ่มสาวอีกครั้ง รวมไปถึงในกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายและนักกีฬา สามารถวิเคราะห์ ดูแลและให้คำปรึกษาเรื่องการสร้างกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
ในสตรีวัยทอง สามารถบำบัดได้ด้วยฮอร์โมน รวมไปถึงการใช้สารสกัดจากรกและการรับประทานวิตาเสริมเฉพาะบุคคล
วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนเกิดมาจากฮอร์โมนเพศหญิงลดต่ำลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ร่างกายและอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน และช่องคลอดแห้ง คัน อักเสบ รวมถึงมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โรคไขมันในเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
การบำบัดด้วยฮอร์โมนจะใช้ฮอร์โมนที่เลียนแบบธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย มีผลข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยที่สุด ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนกลับมามีภาวะสมดุลอีกครั้ง
โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และมีการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะมีการตรวจหาระดับฮอร์โมนอย่างละเอียด และพิจารณาเลือกใช้ฮอร์โมนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล