HORMONE CHECK UP

เช็กลิสต์ “ฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล”

อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล

  • คิดช้า ขี้ลืม
  • หงุดหงิดง่าย
  • อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • มองโลกในแง่ร้าย
  • สมองไม่เฉียบคม
  • มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง
  • อ้วนลงผุง ลดน้ำหนักยาก
  • นอนไม่หลับ
  • อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
  • ขาดความมั่นใจ

เช็กลิสต์ “ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล”

อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล

  • รอบเดือนมาไม่ปกติ
  • นอนไม่ค่อยหลับ หลับ ๆ ตื่น ตื่นกลางคืน
  • เป็นสิวเรื้อรัง
  • ขึ้หลงขี้ลืม
  • ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ  ท้องอืด  ตัวบวม น้ำหนักช่วงรอบเดือน
  • เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • เครียดและอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • อ้วนง่าย ลดน้ำหนักยาก
  • ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
  • ช่องคลอดแห้ง ขาดน้ำหล่อลื่น ตกขาวบ่อย
  • มีความต้องการทางเพศลดลง

ทำไมต้องตรวจฮอร์โมน ?

อายุเพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนตก

หรือจริงๆ แล้วฮอร์โมนตก ทำให้เราแก่กันแน่

“ผลลัพธ์ในภาพและวิดิโอเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล… ผลลัพธ์การช่วยเรื่องสุขภาพของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน”

ฮอร์โมนคืออะไร ?

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อหรือเนื้อเยื่อ และลำเลียงไปตามกระแสเลือด ส่งไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ช่วยในการสื่อสารระหว่างเซลล์และควบคุมระบบของร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ

หน้าที่และความสำคัญของฮอร์โมน

ฮอร์โมนทำหน้าที่เป็นตัวส่งสารเคมีระหว่างเซลล์กลุ่มหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายในแต่ละช่วงเวลาและอายุ และควบคุมกระบวนการ Metabolism ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ประมาณน้ำในร่างกาย ความดัน อุณหภูมิ ระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงคบคุมระบบสืบพันธุ์ต่าง ๆ

Human body hormones. Image Credit: VectorMine / Shutterstock

ฮอร์โมน ในร่างกายมีกี่ประเภท ?

4 ประเภท ได้แก่

  • เพปไทด์ฮอร์โมน (Peptide Hormone) หรือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth Hormone) พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone) และอินซูลิน (insulin) โปรตีนฮอร์โมนบางชนิดที่รวมกับ คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เรียกว่า ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) ได้แก่ฮอร์โมนกลุ่มโทรปิกฮอร์โมน ( tropic hormone) และโกนาโดโทรปิน (gonadotropin) ได้แก่ LH, FSH, HCG และ TSH นอกจากนี้ยังพบที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง หรือบางส่วนของไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin)
  • สเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid Hormone) สังเคราะห์มาจากคอเลสเทอรอล (cholesterol)ได้แก่ ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) เช่น เอสโทรเจน (estrogen) เทสโทสเทอโรน (testosterone) ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) เช่น แอลโดสเตอโรน (aldosterone) คอร์ติซอล (cortisol)
  • อะมีนฮอร์โมน (Amine Hormone) เป็นฮอร์โมนที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจน สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) โดพามีน (Dopamine) หรือ เมลาโทนิน (Melatonin)
  • เอโคซานอยด์ (eicosanoids Hormome)

ฮอร์โมนไม่สมดุลเกิดจากอะไร ?

  • อายุเพิ่มขึ้นทำให้ฮอร์โมนลดลง
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ความเครียดสะสม
  • สารพิษสะสม เช่น สารพิษกลุ่มโลหะหนัก
  • การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
  • การไม่ออกกำลังกายก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการฮอร์โมนไม่สมดุลได้เช่นกัน
  • ช่วงอายุต่าง ๆ เช่น ช่วงวัยที่เราเป็นผู้ใหญ่ อายุ 20-25 ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนได้มากที่สุด พอช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเพศจะเริ่มผลิตได้น้อยลง
  • สำหรับผู้ชายก็อาจจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึกทางเพศต่าง ๆ รวมไปถึงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ลดลงด้วยเช่นกัน
  • สำหรับผู้หญิงจะมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง เมื่ออายุมากขึ้นประจำเดือนก็จะมาลดลง เริ่มมีปัญหาเรื่องกระดูกและมวลกระดูก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากในผู้หญิง รวมไปถึงสิวที่มักจะขึ้นเมื่อมีรอบเดือนหรือก่อนมีประจำเดือนด้วยเช่นกัน

อาการของฮอร์โมนไม่สมดุล

ใครบ้างที่ควร ตรวจฮอร์โมน ในร่างกาย

คนที่มีปัญหาสุขภาพ หรือมีภาวะร่างกายผิดปกติ เช่น วัยทอง 40 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย และมักส่งผลให้เกิดความผิดปกติ เช่น

  • อารมณ์แปรปรวน
  • นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นไม่สดชื่น
  • พลังงานลดลง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • เผาผลาญลดลง อ้วนง่าย
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • สิวอักเสบ ผิวพรรณเปลี่ยนไป ผิวกร้าน เหี่ยวย่น
  • ภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน
  • ซึมเศร้า ภาวะเครียดสะสม
  • เหล่าอาการไม่พึงประสงค์เป็นๆหายๆไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

การตรวจเช็คระดับฮอร์โมนหญิงและชาย

การตรวจวัดระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งจะช่วยประเมินภาวะต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับในแต่ละช่วงอายุ ฮอร์โมนมีความสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบในร่างกาย มีความสำคัญกับโรค สุขภาพ ความแก่ ความสุข ความเครียด การเผาผลาญ การเจริญเติบโต อารมณ์ ผิวพรรณ

หากฮอร์โมนไม่สมดุลจะส่งผลให้สุขภาพไม่ดี อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย ซึมเศร้า หรือนอนไม่หลับได้

การตรวจระดับฮอร์โมนทำให้ทราบความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างตรงจุด ฮอร์โมนจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การตรวจเช็คระดับฮอร์โมนหญิงและชาย มีดังนี้

Thyroide Hormone หรือ ไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่หน้าลำคอ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีอาการเฉื่อยชา ขี้หนาว ผิวหนังแห้ง บวมที่หนังตา หรือบวมฉุทั้งตัว เป็นตะคริวและท้องผูกได้ง่าย

  • Thyroid stimulating hormone (TSH) คือการตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • Free Thyroxin (FreeT4) คือการตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ชนิด T4 ในรูปอิสระพร้อมทำงาน ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวกับระบบเผาผลาญในร่างกาย
  • Free Triiodothyronine (Free T3) ระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ชนิด T3 ในรูปอิสระพร้อมทำงาน ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวกับระบบเผาผลาญในร่างกาย

Sex Hormone หรือ ฮอร์โมนเพศ โดยส่วนใหญ่จะสร้างจากอวัยวะที่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ (ในผู้หญิง) หรือ อัณฑะ (ในผู้ชาย) มีหน้าที่สำคัญในการให้การเจริญเติบโตกับอวัยวะที่เป็นสัญลักษณ์บอกเพศ (เช่น อวัยวะเพศหญิง และเต้านมในเพศหญิง หรือ อวัยวะเพศชาย หนวด เครา ในเพศชาย), การมีประจำเดือนในเพศหญิง หรือมีน้ำอสุจิ และอสุจิในเพศชาย

  • EstradiolHormone (E2) เป็นฮอร์โมนส์หลักในกลุ่มฮอร์โมนส์ Estrogen ที่มีความสำคัญด้านการเจริญเติบโต
  • Follicle Stimulating Hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนส์ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ มีผลต่อรอบประจำเดือน การตรวจระดับฮอร์โมน FSH จากต่อมใต้สมอง ที่มีผลต่อการทำงานของรังไข่ และอัณฑะ
  • Luteinizing Hormone (LH) ถูกสร้างขึ้นที่ต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ในเพศหญิง และ อัณฑะในเพศชาย เป็นสัญญาณสำคัญของการวางแผนครอบครัว ความพร้อมการตั้งครรภ์
  • Progesterone คือฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน การตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน รักษาสมดุลกับการทำงานของเอสโตรเจนและเทสโทสเตอร์โรน
  • Testosterone เป็นฮอร์โมนสำคัญในเพศชายที่ร่างกายสร้างจากอัณฑะ มีหน้าที่ควบคุมและสร้างลักษณะทางกายภาพของเพศชาย

Adrenal Hormone Test หรือ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ต่อมหมวกไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิดรวมถึงคอร์ติซอลและดีเอชอี ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด โดยต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด เพื่อปรับสมดุลของร่างกายหากร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดบ่อยๆ ก็จะทำให้ต่อมหมวกไตต้องหลั่งคอร์ติซอลออกมาสู้กับความเครียดอยู่ตลอดเวลา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ต่อมหมวกไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้

  • Cortisol คือการตรวจระดับฮอร์โมน cortisol เกี่ยวกับการทำงานของต่อมหมวกไต
  • DHEAs คือ ระดับฮอร์โมน DHEA จากต่อมหมวกไตที่ช่วยในการทำงานของภูมิคุ้มกัน และสารตั้งต้นในการเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอร์โรนและฮอร์โมนเพสหญิงเอสโตรเจน

Growth Hormome Test เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในเด็ก ช่วยเพิ่มความสูงและทำให้อวัยวะต่างๆ ขยายขนาดเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ถึงแม้เราจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว ความสำคัญของโกรทฮอร์โมนก็ไม่ได้ลดน้อยลงกว่าวัยเด็ก แต่เปลี่ยนหน้าที่จากเพิ่มการเจริญเติบโต มาเป็นการซ่อมแซมร่างกาย

  • Insulin-like Growth Factor-1 (IGF-1) ตรวจระกับ ระดับฮอร์โมน IGF-1 ที่ช่วยร่างกายเจริญเติบโต

Prostatic Specific Antigen (PSA) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก พีเอสเอ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อมอสุจิที่ทำให้มีลักษณะเป็นน้ำ ส่วนใหญ่ พีเอสเอ มักจะออกจากร่างกายระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ แต่มีปริมาณน้อยที่จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือด  การตรวจ PSA คือการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก

แพคเกจการตรวจวัดระดับฮอร์โมนที่ MOUSAI WELLNESS CENTER

การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง 11 รายการ ดังนี้

ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญในร่างกาย ได้แก่

  • TSH ระดับฮอร์โมนไทรอยด์
  • Free T3 ไทรอยด์ชนิด T3 ในรูปอิสระ
  • Free T4 ไทรอยด์ชนิด T4 ในรูปอิสระ

 ฮอร์โมนเพศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธ์ ได้แก่

  • Estradiol (E2) ฮอร์โมนการเจริญเติบโตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายการตกไข่
  • FSH  ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ในเพศหญิงและควบคุมการสร้างอสุจิในเพศชาย
  • LH ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของรังไข่ในเพศหญิงและการทำงานของอัณฑะในเพศชาย
  • Progesterone ฮอร์โมนการพัฒนาร่างกายและควบคุมลักษณะทางเพศหญิง
  • Testosterone ฮอร์โมนการพัฒนาร่างกายและควบคุมลักษณะทางเพศชาย

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไตและการชะลอวัย โกรทฮอร์โมน และความเครียด ได้แก่

  • Cortisol ฮอร์โมนความเครียด (Stress Hormone)
  • DHEAs ฮอร์โมนที่บอกภาวะความแก่ชรา และเป็นสารตั้งต้นฮอร์โมนเพศ
  • IGF1 ฮอร์โมนการเจริญเติบโต

การตรวจฮอร์โมนเพศชาย 12 รายการ ดังนี้

ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญในร่างกาย ได้แก่

  • TSH ระดับฮอร์โมนไทรอยด์
  • Free T3 ฮอร์โมนไทรอยด์ชนิด T3 ในรูปอิสระ
  • Free T4 ฮอร์โมนไทรอยด์ชนิด T4 ในรูปอิสระ

 ฮอร์โมนเพศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธ์ ได้แก่

  • Estradiol (E2) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การตกไข่
  • FSH   ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ในเพศหญิงและควบคุมการสร้างอสุจิในเพศชาย
  • LH ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของรังไข่ในเพศหญิงและการทำงานของอัณฑะในเพศชาย
  • Progesterone ฮอร์โมนการพัฒนาร่างกายและควบคุมลักษณะทางเพศหญิง
  • Testosterone ฮอร์โมนการพัฒนาร่างกายและควบคุมลักษณะทางเพศชาย

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไตและการชะลอวัย โกรทฮอร์โมน และความเครียด ได้แก่

  • Cortisol ฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress Hormone)
  • DHEAs ฮอร์โมนที่บอกภาวะความแก่ชรา และเป็นสารตั้งต้นฮอร์โมนเพศ
  • IGF1 ฮอร์โมนการเจริญเติบโต

สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก

  • Prostatic Specific Antigen (PSA) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

ระยะเวลารอผล 3 วัน

Menopause (สตรีวัยหมดระดู)

การบำบัดสตรีวัยหมดประจำเดือน ด้วยฮอร์โมนสารสกัดจากรก และการรับประทานวิตาเสริมเฉพาะบุคคล จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ลดความเสื่อม ชะลอความชรา

Andropause (Low Testosterone Level)

ชายวัยทอง หรือ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เมื่อมีอายุมากขึ้น เป็นภาวะที่พบบ่อยในยุคปัจจุบัน สามารถแก้ไข และป้องกันได้ ด้วยฮอร์โมน และวิตามินเสริม

Erectile Dysfunction

ทางเลือกในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศโดยไม่ใช้ยา มุ่งเน้นการแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และช่วยให้ใช้ชีวิตได้มีความสุขมากขึ้น

Metabolic syndrome

ระบบการเผาผลาญที่ต่ำลง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ หากตรวจพบ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เร็ว จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ในอนาคต

Muscle Builder

พยายามเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้ร่างกาย แต่ก็ไม่ได้ผล การใช้ฮอร์โมนบำบัดภายใต้คำแนะนำของแพทย์ จะช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จในการสร้างกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น

Adrenal Fatigue

อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า อยากพักตลอดเวลา เป็นภาวะที่เกิดจากการต่อมหมวกไตทำงานหนักเป็นเวลานาน และเหนื่อยล้า จนเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า

Subclinical Hypothyroid

ผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ มันอ้วนฉุ ลดความอ้วนยา สามารถแก้ไขได้จากการปรับพฤติกรรม ทานวิตามินบำรุง และเพิ่มฮอร์โมน โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่

Open

Mousai Wellness Tel
Mousai Wellness Line