โปรแกรม ApoE GENE ตรวจเลือดดูความเสี่ยงโรค Alzheimer’s

ApoE GENE
ตรวจเลือดดูความเสี่ยงโรค Alzheimer’s

          โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)  เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน ถือเป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด หากมีความเสื่อมเกิดขึ้นแล้วไม่มีวันหาย 

          ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สูญเสียการประสานงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถแยกผิด แยกถูกได้ มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา ความจำ ในระยะสุดท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด 

          จากข้อมูลสถิติระบาดวิทยาขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคอัลไซเมอร์อุบัติการณ์มากขึ้น

                    🍀 ช่วงอายุ 50 ปี มีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 25%

                    🍀 ช่วงอายุ 60 ปี มีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มประมาณ 50%

                    🍀 ช่วงอายุ 80-84 ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงสุด คือ ประมาณ 89%

                    🍀 ช่วงอายุ 85-99 ปี อาการของโรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มคงที่

          โดยผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงาน หรือไม่ได้ทำกิจกรรม หรือไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกาย มีโอกาสที่จะเกิดภาวะโรคอัลไซเมอร์ถึง 90%

          ปัจจัยเสี่ยง Alzheimer’s ภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ  และจะค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นตามระยะเวลา ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ (ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้)

  • อายุ : เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด หลังจากที่มีอายุครบ 65 ปี มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นสองเท่า ทุก ๆ 5 ปี  ไม่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้น ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่อายุต่ำกว่า 65 ปี มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์มากถึง 5%

  • ประวัติครอบครัว : ในบางครอบครัวโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการสืบทอดยีน โดยเฉพาะในครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมีอาการสมองเสื่อมหลายรุ่น และมีอาการตั้งแต่ในวัยเยาว์จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น

  • โรคดาวน์ซินโดรม : ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมจำนวนมากพบว่ามีภาวะโรคอัลไซเมอร์ร่วมด้วย โดยมีอาการเร็วกว่าคนปกติทั่วไป 10 หรือ 20 ปี

  • เพศ : พบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชาย

  • การกลายพันธ์ของยีน : การกลายพันธ์ของยีน Apolipoprotein E (Apo E), Amyloid-beta Precursor Protein (APP), Presenilin 1 (PSEN1) และ Presenilin 2 (PSEN2) และ Down’s syndrome จะทำให้ปรากฎอาการของโรคอัลไซเมอร์เร็วกว่าคนปกติ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ (ที่เกิดขึ้นภายหลัง)

  • การบาดเจ็บบริเวณศีรษะอย่างรุนแรง : ผู้ที่มีการบาดเจ็บทางศีรษะอย่างรุนแรง จะมีความเสี่ยงต่อเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น

     

  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ : มีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับ นอนหลับผิดปกติ เช่น การหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์

     

  • การดำเนินชีวิต (lifestyle) : การขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วน การสูบบุหรี่ 

     

  • โรคประจำตัว : โรคเบาหวานประเภท 2 ภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง

อาการเบื้องต้น

  • โรคอัลไซเมอร์อาจทำให้เกิดการทะเลาะกับคนในครอบครัว เนื่องจากมีอาการหลงลืมที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • สับสนเรื่องเวลา และสถานที่ จำทางกลับบ้านไม่ได้
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
  • อารมณ์ และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป
  • จำชื่อคนรอบข้างไม่ได้

ตรวจยีน Apolipoprotein E: Apo E ดูความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต

ApoE คืออะไร ?

          Apolipoprotein E (ApoE) เป็นโปรตีนที่มีบทบาท ในการขนส่งไขมัน และสารต่างๆ ไปยังอวัยวะ ได้ 3 รูปแบบ คือ ApoE-2, ApoE-3 และ ApoE-4 ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ มีความสามารถในการทำงานที่แตกต่างกัน

          จากการศึกษาพบว่าการสะสมของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ในเซลล์ประสาทสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งการสะสมของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์นี้เกี่ยวข้องกับ ApoE

          เนื่องจาก ApoE มีบทบาทสำคัญในการช่วยขจัดโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ออกจากเซลล์ประสาท ApoE แต่ละรูปแบบจะมีความสามารถในการขจัดโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ที่แตกต่างกัน 

          ดังนั้น ผู้ที่มี ApoE ในรูปแบบที่สามารถขจัดโปรตีนชนิดนี้ได้น้อย ทำให้มีการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์ในเซลล์ประสาทมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงขึ้น

การแปรผลของ ApoE Gene ที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิคโรคอัลไซเมอร์สามารถสรุปได้ดังนี้

ApoE-2 เป็นยีนที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Protective gene) 

ApoE-3  เป็นยีนที่พบมากที่สุดในคนส่วนใหญ่

 ApoE-4 *** เป็นยีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคอัลไซเมอร์ หากตรวจพบยีน ApoE4 ทำให้มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์มากกว่าคนทั่วไป (Risk-factor gene)

การแปรผลยีน ApoE

1. E3/E3 จากสถิติพบความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เท่ากับค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป 

2. E2/E2 หรือ E2/E3 มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป 0.6 เท่า

3. E2/E4, E3/E4 หรือ E4/E4 *** มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป 15 – 20 เท่า

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

ระยะเวลารอผล 3 วัน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่

Open

Mousai Wellness Tel
Mousai Wellness Line