Mousai Wellness Center
ไขมันพอกตับ ภัยร้ายกว่าที่คิด
แต่วิธีรักษานั้นไม่ยากเลย
ทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันนี้ เราพบภาวะไขมันพอกตับมากขึ้นเรื่อย ๆ ความชุกประมาณ 25-30% ของประชากรทั่วไป แต่ตัวเลขที่แน่ชัดนั้นยังไม่มีใครทราบ และตอนนี้เราพบว่าในเด็กก็มีภาวะไขมันพอกตับสูงเช่นกัน
ไขมันพอกตับ คือภาวะที่มีไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์สะสมอยู่ในเนื้อตับมากกว่า 5-10% ซึ่งโดยมากจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจอัลตราซาวน์ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่แสดงอาการ
คนปกตินั้นจะมีตับที่ปกติ แต่ถ้ามีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นในร่างกายระดับหนึ่ง (เช่น เริ่มมีภาวะอ้วนลงพุง) จะมีภาวะไขมันพอกที่ตับร่วมด้วย โดยช่วงแรกนั้นการตรวจเลือดที่โรงพยาบาลระดับเอนไซม์ตับจะยังอยู่ในช่วงปกติ แต่ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งไขมันที่ตับจะเริ่มทำให้ตับเกิดการอักเสบ การตรวจเลือดที่โรงพยาบาลจะเริ่มพบค่าเอนไซม์ที่ตับเริ่มสูงขึ้น (ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ทราบว่าตัวเองมีไขมันพอกตับและมีภาวะตับอักเสบ)
ถ้าเราปล่อยให้ร่างกายมีภาวะตับอักเสบนานหลายปี ตับก็จะเริ่มมีผังผืดเกิดขึ้น และยิ่งทิ้งไว้นาน อาจจะกลายเป็นภาวะตับแข็ง หรือเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับได้ จริง ๆ แล้วพอตับของเราเริ่มมีการอักเสบเกิดขึ้น ร่างกายจะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคมะเร็งตับ เป็นต้น
ไขมันพอกตับนั้น เราสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิด ชนิดแรก คือไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ชนิดที่สองคือไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์แต่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป มีภาวะอ้วนลงพุง รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกาย และสาเหตุหลังนี่เองที่ทำให้เราพบภาวะไขมันพอกตับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันทุกเพศ ทุกวัย
วิธีการตรวจภาวะไขมันพอกตับ แบ่งเป็น 3 วิธี
1. วิธีมาตรฐานที่สุดคือ การเจาะชิ้นเนื้อตับ (Liver biopsy) มาตรวจ ฟังดูแล้วน่ากลัวไหมคะ
2. การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวน์ เป็นวิธีที่ใช้บ่อย เนื่องจากไม่เจ็บ แต่ไม่สามารถบอกปริมาณไขมันที่พอกที่ตับได้
3. การตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan) เป็นเครื่องตรวจแบบใหม่ เริ่มแพร่หลายมากขึ้น
ในปัจจุบัน ตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลเอกชนบางที่ วิธีนี้ใกล้เคียงการตรวจอัลตราซาวน์
แต่ข้อดีคือ สามารถบอกปริมาณไขมันพอกตับได้ รวมไปถึงปริมาณผังผืดได้ จึงเหมาะที่จะใช้ในการตรวจหาภาวะไขมันพอกตับและไว้ใช้สำหรับติดตามอาการ
จากที่กล่าวข้างต้น จึงแนะนำให้ทุกคนตรวจหาภาวะไขมันพอกตับ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ข่าวดีคือ วิธีการรักษาไขมันพอกตับนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่ทุกคนคิด วิธีการรักษาหลักคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง (Intensive Lifestyle Modification) แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากไขมันพอกตับแล้ว เช่น ตับอักเสบหรือตับมีผังผืด วิธีการรักษาก็จะมีรายละเอียดที่เพิ่มขึ้น
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะไขมันพอกตับ แบ่งเป็น 5 วิธี
1. หัวใจสำคัญคือการลดน้ำหนัก โดยคำแนะนำจากแผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า รวมไปถึงจากงานวิจัยในปัจจุบัน พบว่า “ต้องลดน้ำหนักให้ได้ 7-10%” ของน้ำหนักเดิมของเรา แต่จากงานวิจัยโดยสมาคม European society for Clinical Nutrition and Metabolism ซึ่งตีพิมพ์ปี ค.ศ. 2019 พบว่า ถึงจะลดน้ำหนักได้น้อยกว่า 7-10 % ก็ยังสามารถลดปริมาณไขมันที่สะสมที่ตับได้ ลดภาวะตับอักเสบได้ และลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจหลอดเลือด รวมไปถึงมะเร็งตับได้อีกด้วย โดยรายละเอียดเรื่องการปรับอาหารและการออกกำลังรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม ในภาวะไขมันพอกตับ จะกล่าวถึงในครั้งถัดไป
2. การปรับเปลี่ยนประเภทของอาหาร โดยทานอาหารรูปแบบที่เรียกว่า Mediterranean diet เพิ่มขึ้น
3. เพิ่มกิจกรรมทางกาย รวมไปถึงการออกกำลังกายทั้งรูปแบบ Aerobic และแบบมีแรงต้าน
(โดยรายละเอียดเรื่องการปรับอาหารและการออกกำลังรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม ในภาวะไขมันพอกตับ จะกล่าวถึงในครั้งถัดไป)
4. การทานอาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลาที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 สูงประมาณ 1.8 กรัม/วัน และวิตามิน E (รายละเอียดและปริมาณการทานกรดไขมันโอเมกา 3 และวิตามิน E ให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะบุคคล ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ท่านนั้น ๆ )
5. การทานอาหารเสริมกลุ่ม Probiotics
จะเห็นได้ว่า แม้ไขมันพอกตับนั้นจะเป็นภัยร้าย ภัยเงียบกว่าที่เราคิด แต่วิธีรักษาหลักคือ การลดน้ำหนักให้ได้ตามเป้าหมาย รวมไปถึงการปรับวิถีชีวิต Lifestyle ต่าง ๆ การที่เราจะลดน้ำหนัก ดูและสุขภาพได้ถูกต้องและเห็นผลระยะยาวนั้น ช่วงแรกเราควรมีที่ปรึกษาที่ดี ทุกท่านสามารถนัดมาปรึกษาแพทย์ที่ Mousai Wellnes Center หรือแพทย์ที่ท่านไว้วางใจได้เพื่อเริ่มต้นและวางแผนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
หากต้องการสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
ทดลองเข้ามาใช้บริการโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพต่าง ๆ
สามารถสำรองนัดหมายเข้ามาคุยกับคุณหมอ
เพื่อออกแบบ Program ที่เหมาะสมกับคุณ
.
ติดต่อได้ที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ
🏥 Mousai Wellness Center 🌿
.
📍 https://maps.app.goo.gl/5upfoxwpdsg9hVNx5
📩 Line : @MousaiWellness
🌐 mousaiwellness.com
☎️ 02-0964991 , 061-8941881
#Mousai #MousaiWellness #โปรโมชัน #Wellness #Holistic #ดูแลสุขภาพ
#drbiglifestyelemedicine #lifestylemedicine #antiaging #health #healthy #fatty liver#ไขมันพอกตับ
#Detox #Liver #LiverDetox #ตับ #ดีท็อกซ์ตับ #คลินิกความงาม #ศูนย์สุขภาพ #ความงาม #ชะลอวัย #ตรวจสุขภาพ
ที่มา
นพ.พูลชัย จรัสเจริญวิทยา, Non-alcoholic Fatty Liver Disease in Obesity and Type 2 Diabete, (2558) ; โรคต่อมไร้ท่อในเวชปฏิบัติ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย
Younossi, Z., Anstee, Q. M., Marietti, M., Hardy, T., Henry, L., Eslam, M., … & Bugianesi, E. (2018). Global burden of NAFLD and NASH: trends, predictions, risk factors and prevention. Nature reviews Gastroenterology & hepatology, 15(1), 11-20.
Glen, J., Floros, L., Day, C., & Pryke, R. (2016). Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD): summary of NICE guidance. Bmj, 354.
Kwanten, W. J., Martinet, W., & Francque, S. M. (2016). Autophagy in non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD). Autophagy in Current Trends in Cellular Physiology and Pathology, 456-483.
Neuschwander-Tetri, B. A. (2017). Non-alcoholic fatty liver disease. BMC medicine, 15(1), 1-6.